3.หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่องธรรมชาติเเละวิวัฒนาการเทคโนโลยี

อ่าน 178 | ตอบ 0
3.บทที่ 1 ธรรมชาติและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี
รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่        
 
บทที่ 1  เรื่อง  ธรรมชาติและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี
 
สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.  เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเทคโนโลยี
2.  เข้าใจธรรมชาติ  ประโยชน์ ของเทคโนโลยี
3.  บอกประวัติ และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีตามยุคสมัย
4.  บอกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีไทย
5.  มีเจตคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตเพี่อการดำรงชีวิต
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  บอกความหมาย   ความสำคัญของเทคโนโลยีได้
2.   อธิบายประโยชน์ ของเทคโนโลยี
3.  บอกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีตามยุคสมัย
4.  บอกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีไทย
 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
   1.   ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.   ความสามารถในการคิด
   3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
   4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  
   5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
 

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี
1.  ความหมายของวิวัฒนาการ
                          วิวัฒนาการ (Evolution) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ฐานะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เป็นเปลี่ยนแปลงในทางชีววิทยาจากสิ่งที่ง่าย ๆ ไปสู่สิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องเปลี่ยน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และต้องใช้เวลานาน
                          วิวัฒนาการ (Evolution) หมายถึง การพัฒนาอย่างมีระบบตามธรรมชาติ และตามผลการทบของสิ่งแวดล้อมในสภาวะนั้นๆ วิวัฒนาการต้องใช้เวลา ไม่มีทางลัด ตัวแปรของวิวัฒนาการ คือ สิ่งแวดล้อม
                          วิวัฒนาการ คือ การดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไป ในเวลาปรกติก็จะพัฒนาไป ต่อเมื่อพบสภาววิกฤตก็จะทำการปฏิรูปจริงจัง

                           จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปความหมายของคำว่า วิวัฒนาการ ได้ว่า  เป็นการพัฒนาอย่างเป็นระบบ  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเผชิญกับสภาวะวิกฤต  ทำให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  เพื่อทำได้ดีขึ้น ซึ่งมีด้วยกันหลายด้านเช่น วิวัฒนาการของเทคโนโลยี  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
   2.  ลักษณะของวิวัฒนาการ
                  วิวัฒนาการทางเคมี
                              นัก วิทยาศาสตร์เชื่อว่า ครั้งแรกโลกเป็นหมอกเพลิงที่หลุดออกมาจากดวงอาทิตย์ต่อมาเปลือกโลกค่อย ๆ เย็นตัวลง พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีตลอดเวลา ครั้งแรกยังไม่มีสารอินทรีย์ มีแต่สารอนินทรีย์เท่านั้น ซึ่งค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงเป็นสารอินทรีย์ ฉะนั้นเมื่อเวลาค่อย ๆ ผ่านไปสารอนินทรีย์จะค่อย ๆ ลดลงพร้อมกับสารอินทรีย์เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีสิ่งมีชีวิต
                   วิวัฒนาการทางชีววิทยา
                       เริ่ม แรกจากเซลล์ ๆ จะสร้างสารที่ต้องการจากอาหารได้เติบโต และสืบพันธุ์ได้ และจะต้องมีวิธีที่เซลล์จะได้พลังงานมาใช้ วิธีการนั้นก็คือการหายใจ
3.  วิวัฒนาการของเทคโนโลยี 
                 คนเรารู้จักใช้เทคโนโลยีกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์  นับตั้งแต่การทำเครื่องมือล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร  รู้จักการฝนหินเพื่อให้เกิดไฟปิ้งอาหารให้สุก  หรือเทคโนโลยีในอดีตอีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัด คือ พีรามิดของชาวอียิปต์โบราณที่สร้างโดยวิธีต่อทางลำเลียงลาดเพื่อลากก้อนหิน ขึ้นไป  เทคโนโลยี มีพัฒนาการเรื่อยมาโดยมีการค้นคิดประดิษฐกรรมต่าง ๆ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเนื่องจาก มีการใช้เครื่องจักรกลอันสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และ อุตสาหกรรม  พัฒนาการของเทคโนโลยี สืบมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์และเทคนิควิธีการ เช่น มีการประดิษฐ์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เสียง รวมถึงเป็นยุคแรกของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในช่วงทศวรรษ 1930s-1940s ที่รู้จักกันดีคือ เครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Computer) ซึ่งสร้างโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเมื่อมีการนำความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาใช้ยิ่งช่วยให้มีการพัฒนาการของเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้สังคมโลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมากดังที่เห็นในปัจจุบัน (กิดานันท์  มลิทอง, 2548 : 1)
4.  วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ
                วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์
                         สงคราม เป็นสิ่งที่น่ากลัวของมนุษย์จริงหรือ แต่มิใช้สงครามสังคมกลับเป็นสังคมสุขภาพ ซึ่งหลีกเลียงได้ยากจะมาเมื่อไร กับบุคลใด มากน้อยแค่ไหน ไม่มีใครทำนายล่วงหน้าได้ ส่วนสงครามสังคมนั้น มนุษย์ควบคุมได้ว่าจะเกิดเมื่อไร ที่ไหน แค่ไหน สิ่งที่ควบคู่มากับสุขภาพคือ การรักษาโรคและการป้องกันโรค ซึ่งได้พัฒนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความพยามอธิบายธรรมชาติของโรค ต้นเหตุของโรคในลักษณะต่างๆ รวมทั้งรูปแบบและแบบแผนของการรักษา การป้องกัน ซึ่งความเชื่อและวิธีการของแต่ละยุคสมัยนั้นย่อมแตกต่างกันไปขึ้นกับประชาชน นั้นจะยอมรับมากน้อยแค่ไหน
                    วิทยา ศาสตร์เมื่อเทียบกับเวลาการเกิดของมนุษย์แล้วมีเวลาเพียนน้อยนิดเท่านั้น แต่พลังของมันมีค่ามากมายเปลี่ยนโลกไปได้มาก เช่นเดียวกันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และสาธารณสุขกว่าจะทำลายความเชื่อดั้ง เดิมว่าโรคร้ายเกิดจากการลงโทษของพระเจ้าหรือภูตผีร้ายต้องใช้เหตุผล ความรู้ที่แจ่มแจ้งที่ได้จากการค้นพบของแพทย์มาหลายยุคสมัยกว่าจะมาถึงการ แพทย์ปัจจุบัน
            ทุก สังคมของมนุษย์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ อยู่ที่ว่าจะมีบันทึกหลงเหลืออยู่ให้มนุษย์ยุคหลังได้เรียนรู้ศึกษาหรือไม่ ถ้ามองย้อนไปในอดีต การรักษาโรคเริ่มแรกตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์พบในประเทศอียิปต์ ในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์มีหมอมากมาย และเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หมอฟัน หมอตา หมอเกี่ยวกับโรคท้องและลำไส้ ซึ่งได้เรียนรู้มาจากที่เก็บศพของฟาร์โรห์
            ความ รู้ทางการแพทย์ที่ตกมาถึงเราก็คือ บันทึกที่เขียนลงบนกระดาษพาไพรัส (เป็นกระดาษที่เก่าแก่ที่สุดของอียิปต์) ซึ่งมีมากกว่า 7 ม้วนทีชี้ให้เห็นถึงความรู้ทางการแพทย์ของอาณาจักรเก่าที่ต่อมาได้เป็นราก ฐานของความรู้ในสมัยอาณาจักรกลางและอาณาจักรใหม่ พาไพรัส ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ 2000 ปีก่อนศริสศักราชที่ได้กล่าวถึงการรักษาโรคสตรี และโรคเด็ก
            พาไพรัสทางการแพทย์ที่สำคัญ คือ สมิทธิ์ พาไพรัส (Smith papyrus) และ อีเบอรส์ พาไพรัส (Ebers papyrus) โดยสมิทธิ์ พาไพรัส มีความยาว 5 เมตร เป็นหนังสือที่คัดลอกมาจากหนังสือในสมัยปิรามิด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการผ่าตัดจึงดูมีเหตุผลกว่าการรักษาโรคภายในโดยใช้ยา มีการสอนให้เชื่อในอำนาจธรรมชาติที่จะทำให้คนเจ็บหายได้ และจากการเขียนนี้ยังทำให้รู้ว่าชาวอียิปต์มีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคพอ สมควร ซึ่งความรู้นี้อาจเป็นไปได้ว่า หนึ่ง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้เห็นเวลาคนไข้เกิออุบัติเหตุ และ สอง การทำมัมมี่ซึ่งต้องผ่าเอาอวัยวะภายในออกก็ช่วยให้รู้จักอวัยวะภายในได้ ในสมิทธิ์พาไพรัสนี้บอกให้รู้ว่า ผู้เขียนเห็นความสำคัญของชีพจร รู้ถึงความเกี่ยวข้องระหว่างชีพจรกับหัวใจ รู้ว่าสมองเป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย และยังบอกได้ว่า สมองแต่ละส่วนจะควบคุมร่างกายเป็นส่วนๆไป หากส่วนใดส่วนหนึ่งเสียไปก็จะทำให้เป็นอัมพาตได้ จากบันทึกนี้แสดงให้เห็นความสามารถสรุปผลจาการสังเกตได้อยู่มีเหตุผลที่ดีที เดียว
            ส่วน อีเบอรส์ พาไพรัส เขียนขึ้นเมื่อ 170 ปีก่อนศริสศักราช หลังสมิทธิ์ พาไพรัส 100 ปี มีความยาว 20.30 เมตร บอกวิธีรักษาโรคต่างๆไว้ถึง 877 โรค มีหัวข้อดังนี้คือ การสวดก่อนรักษาเพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่คนไข้ การรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะสตรี ความรู้เกี่ยวกับอวัยวะต่างๆของมนุษย์ และหน้าที่ของแต่ละส่วนเหล่านั้น ถัดไปเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับศัพท์ และสุดท้ายโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
            แต่เดิมการรักษาโรคของชาวกรีกเอนเอียงไปในทางไสยศาสตร์มาก แอสคลีปีอุส (Asclepius) เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรคของกรีก เขาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมาก เมื่อตายไปได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้า การรักษาโรคของชาวกรีกในยุคนั้นทำกันในวัดที่มีรูปของแอสคลีปีอุส และทำเป็นสัญลักษณ์ไม้เท้ามีรูปงูพันอยู่ หน้าที่ของพระคือติดต่อระหว่างพระเจ้ากับคนไข้ การรักษาใช้วิธีอาบน้ำมนต์บ้าง และมีการพักนอนในวัด ซึ่งการมานอนในวัดนั้นเชื่อว่ามีเทพเจ้ามาช่วยดูแลช่วยให้กำลังใจคนไข้และ ให้ยาประกอบด้วย แรกๆ ตำรายามาจากความฝันและตีความเอาเองของพวกพระหายไปก็มาก ตายไปก็เยอะ นานๆเข้าการเรียนรู้ การสังเกตเริ่มรู้ว่าส่วนไหนของพืชชนิดใดใช้เป็นยาได้ รวมทั้งพวกที่มารักษาในวัดเองฉลาด สังเกตวิธีการของวัดนำไปปฏิบัติเองข้างนอก กลายเป็นหมอเลยก็มี ดังนั้นหมอในยุคนั่นคือ พวกที่ศึกษาสังเกตวิธีการรักษาจากวัดนั้นเอง
ยุค ต่อมาหมอชาวกรีกหลายคนเริ่มสนใจส่วนประกอบของร่างกาย และหน้าที่ของมัน มีการค้นพบว่า สมองเป็นสูญกลางของประสาทสัมผัส เอมพรีโดคริส(Empedocles 490-430 ก่อนศริสศักราช) เชื่อว่า สุขภาพของมนุษย์เราเกิดจากสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย ชาวกรีกเป็นพวกที่สนใจในการแสวงหาความรู้โดยไม่คำนึงถึงว่าความรู้นั้นจะก่อ ให้เกิดประโยชน์เฉพาะหน้าหรือไม่ มีความสนใจที่จะศึกษา ความรู้เพื่อความรู้ ช่างคิด ช่างสังเกต ที่จะแสวงหาคำตอบต่อสิ่งที่สงสัย ดังนั้นในการรักษาโรคก็พยายามจะตั้งทฤษฏีขึ้นอธิบายว่าโรคเกิดจากอะไร ด้านกายวิภาคและสรีระก็สนใจผ่าศพและพยายามอธิบายวิธีการทำงานของมัน สุดท้ายได้มีการตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่เกาะคอส (Cos) ผู้ที่ทำให้โรงเรียนแพทย์แห่งนี้เจริญจนถึงขั้นที่เรียกว่าเป็นโรงเรียน แพทย์ที่เจริญที่สุดในสมัยโบราณ คือ ฮิปโปรเครตีส (hippocretes)
            ฮิปโป รเครตีส460-377 ก่อนศริสศักราช) เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของกรีก และเป็นแพทย์กรีกคนแรกที่ให้ความสนใจศึกษาโดยริเริ่มเอาวิธีการทางวิทยา ศาสตร์มาใช้ในทางการแพทย์และได้วางรากฐานการวินิจฉัยทางการแพทย์โดยอาศัย ประสบการณ์และการทดลอง มีการสังเกตอาการของคนไข้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และจดบันทึกไว้อย่างถูกต้องตรงตามความจริง พยายามที่จะค้นสาเหตุแห่งการเจ็บไข้ เขาเป็นคนที่ชอบท่องเที่ยวไปตามเมืองหลักๆของกรีกและเอเชียตะวันตก พร้อมบันทึกสิ่งต่างๆ และเป็นคนช่างสังเกตซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของวิธีการคิดทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิดและวิธีการค้นพบของจึงมาจากการอาศัยประสบการณ์และการทดลองของเขา เขาไม่เชื่อในสิ่งที่พิสูจนไม่ได้ ผลงานของฮิปโปรเครตีส เป็นที่รู้จักกันมาก คือ ตำราชุดเกี่ยวกับการรักษาและงานวิจัยทางการแพทย์ (hippocretes collection) ประวัติของ ฮิปโปรเครตีส เปรียบเสมือนผู้จุดประกายวิชาทางการแพทย์และยังคงมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน หนังสือบางเล่มยังใช้เป็นตำราเรียนในโรงเรียนแพทย์ ปรัชญาพื้นฐานทางการแพทย์ของเขา คือ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มิได้มีสาเหตุมาจากการถูกทำโทษโดยพระเจ้าหรือพลังที่ไม่มีเหตุผลตามความ เชื่อของมนุษย์ในสมัยโบราณ แต่เกิดเนื่องจากกฎธรรมชาติ เช่น 'โรคลมชัก' ไม่ได้เกิดจากพระเจ้าแต่เกิดจากสาเหตุธรรมชาติที่หาสาเหตุได้ ปรัชญาของเขาบอกให้รู้ว่าการแพทย์ไม่ใช่แขนงของศาสนา สามารถปฏิบัติเหมือนกับการศึกษาในรูปแบบของวิทยาศาสตร์ เขากล่าวว่าการบันทึกสิ่งที่ผิดพลาดมีผลดีเท่ากับการบันทึกสิ่งที่ประสบความ สำเร็จในการรักษา ฮิปโปรเครตีส ยืนหยัดอยู่บนจุดยืนของเขาโดยแพทย์จะต้องเรียนรู้ศึกษาจากคนไข้กับสิ่งแวด ล้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
 
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง เป็นการนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากรมาสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการโดยผานกระบวนการ เพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์
  1. เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
  2. เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา 
  3. เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ 

    ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่  ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น  ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน  หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว  จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอนิกส์  โทรคมนาคม  และข่าวสาร  (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง  ๆ ได้พร้อมกัน  สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ
 

            วิวัฒนาเทคโนโลยี (Evolution of Technolgy ) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ (Evolution) ของระบบหรือเครื่องมือนั้น ๆ  ดังนั้นคำว่า วิวัฒนาการของเทคโนโลยี (Evolution of Technology ) จึงหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยตาง ๆ    

  • วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค
    • ยุคหิน (Stone age)
    • ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
    • ยุคเหล็ก (Iron age)
    • ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม(Industrial Revolution)
    • ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)
ยุคที่ 1. ยุคหิน (Stone age)

             เป็นยุคแรกของมนุษย์ที่มีการใช้เครื่องมือซึ่งทำมาจากหินทั้งสิ้น เช่นอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้หรือเครื่องใช้ภายในครัวเรือนชนิดต่าง ๆ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ทำมาจากหินก่อนที่จะมีการใช้โลหะในเวลาต่อมา 


 ลักษณะของยุคหินในทวีปต่าง ๆ 

  1. ทวีปอเมริกา ยุคหินในทวีปอเมริกา ได้เริ่มขึ้นเมื่อมีมนุษย์รุ่นแรก ๆ จากหลายถิ่นฐานได้เข้าไปอยู่อาศัยในทวีปอเมริกา หรือที่เรียกว่าโลกใหม่ (New world) เมื่อประมาณ 30,000 ปีที่แล้ว และยุคหินในทวีปอเมริกาได้สิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  2. ทวีปเอเชีย (ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ) ยุคหินได้สิ้นสุดเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  3. ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และเอเชียเหนือ ยุคหินได้สิ้นสุดเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช


             ระยะเวลาของยุคหินในแต่ละทวีปบนพื้นโลกมีความแตกต่างกันดังได้กล่าวมาแล้ว และระยะเวลาการเกิดของยุคหินในแต่ละที่ก็มีอิทธิพลโดยตรงต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงได้แบ่งยุคหินออกเป็น 3 ระยะ

             ระยะพาลีโอลิค(Paleolitthic) หรือ Old Stone Age เป็นช่วงที่มีความยาวนานมากที่สุด่ของยุคหิน โดยได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2 ล้านปีที่ผ่านมาแล้วและสิ้นสุดเมื่อยุคน้ำแข็งได้สิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 13,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มนุษย์ยุคนี้ได้นำหินมาทำเป็นอาวุธ และได้พบหลักฐานว่ามนุษย์ถ้า โครแมนยอง (Cro-Magnon) ในทวีปยุโรปได้วาดภาพซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ต่าง ๆ ในช่วงปลายของระยะนี้

             ระยะมีโซลิติค( Mesolithic) หรือ Middle Stone Age เป็นช่วงหลัง 13,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นบนพื้นโลกส่งผลให้มีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงมีเครื่องมือเครื่องใช้หลายชนิดที่ทำด้วยก้อนกรวด ก้อนหิที่ได้มาใชีวิตประจำ

             ระยะนีโอลิติต (Neolithic ) ระยะนี้ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 8,000ปีก่อนคริสต์ศักราช มนุษย์ยุคนี้ได้นำสังคมเกษตรกรมเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในครัวเรือนบางชนิดได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้มีการเริ่มใช้โลหะบางชนิดใน ได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้มีการเริ่มใช้โลหะบางชนิดในช่วงปลายของระยะนี้

 

 

 

ยุคที่ 2. ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age )


 ลักษณะของยุคทองสัมฤทธิ์

            ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เชื่อกันว่าเครื่องไม้เครื่องมือที่ทำจากทองสำเริดได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในแถบตะวันออกกลาง(Middle  East) และในทวีปยุโรปโดยเริ่มที่ประเทศกรีก ในทวีปเอเชียยุคทองสำริดได้เริ่มขึ้นทีประเทศจีนเมื่อประมาณ 1,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนในทวีปอเมริกายุคทองสำริดได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราชในประเทศไทย  ได้มีการค้นพบเครื่องมือบ่างชนิดที่ทำด้วยทองสำริด เช่นใบหอก  ขวาน กำไล  และเบ็ดตกปลา เป็นต้น  ที่ตำบลบ้านเชียง  อำเภอหนองหาน  จังหวัดอุบลราชธานี และที่ตำบลแวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร  และจากการค้นพบวัตถุโบราณชนิดนี้ทำให้เชื่อว่ายุคทองสำริดเกิดขึ้นมานานแล้วประมาณ 4,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  


            ยุคทองสำริดในตะวันออกกลางและแถบเมดิเตอร์เรเนียนแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้.

             ระยะต้น (Eaarly Bronze age) โลหะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวันมากขึ้นซึ่งเป็นยุคของชูบาเรียน ซิวิไลเซซัน( Sumaian Civilzation)

             ระยะกลาง (Middle Brone age) เป็นยุคของบาบิโลน (Babylon) ชาวบาบิโลนนอกจากรู้จักใช้โลหะแล้ว ยังเป็นผู้ให้กำเนิดวิธีการทำนายชะตาชีวิตมนุษย์โดยดูจากอิทธิพลของดวงดาวหรือโหราศาสตร์ โดยมีหลักฐานหินปักเขตรูปเทพเจ้าต่าง ๆ ที่ค้นพบ

             ระยะสุดท้าย (Late Bronze age) เป็นยุคของไมโนแอน ครีท (Minoan crete) และ ไมซีนาเอน ครีซ(Mycenaean Creece)

 

 

 

 

 

ยุคที่ 3. ยุคเหล็ก (Iron age)

 

 

 

 ลักษณะของยุคเหล็ก

              เป็นยุคที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ  มีการนำเอาเหล็กเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์และอาวุธยุทโธปกรณ์แทนทองสัมฤทธิ์ซึ่งมีการใช้แพร่หลายกันในยุคทองสัมฤทธิ์ ยุคนี้ได้นำเหล็กมาใช้มากขึ้นเมื่อมีการนำเตาเผาซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการหลอมโลหะบางชนิด จนทำให้เหล็กกลายเป็นวัสดุที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตวัสดุ อุปกรณ์  เครื่องใช้ต่าง  ๆ ของมนุษย์ในยุคเหล็ก โลหะเหล็กใช้กันแพร่หลายมากในช่วง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศไทยมีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากเหล็กที่ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี และที่ตำบลโนนชัย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

              การผลิตเหล็กกล้าในยุคแรก ๆ ทำได้ด้วยวิธีการนำธาตุคาร์บอนไปผสมกับธาตุเหล็กจากนั้นจะใช้ค้อนทุบในเตาถ่านหินที่มีอุณหภูมิสูงเพื่อทำเป็นอุปกรณ์ใช้สอยชนิดต่าง ๆ เช่นภาชนะเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ในครัวเรือน นอกจากนี้ได้มีการนำซีเมนต์และคอนกรีตโดยมีเหล็กเป็นโครงสร้างมาก่อนสร้างตึกอาคารต่าง  ๆในยุคนี้อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ได้มีการพัฒนามากขึ้นด้วย

 

 

 

ยุคที่ 4. ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม(Industrial Revolution)

 


 ลักษณะของยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม

              เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากยุคต้น ๆ จนกลายเป็นยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษ (Great Britain) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1790-1830 โดยการสนับสนุนของรัฐบาลอังกฤษ โดยในช่วง แรก ๆ ได้พัฒนาจากการเกษตรแบบขนบท  จากนั้นกลายเป็นการเกษตรแบบเมือง และกลายเป็นอุตสาหกรรมการผลิตในที่สุด อุตสาหกรรมการผลิตแห่งแรกในประเทศอังกฤษได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1740 ได้แก่อุตสาหกรรมสิ่งทอ  ต่อมา James Watt และ Thomas Newcomen  ได้ผลิตเครื่องจักรไอน้ำขึ้น ยุคอุตสาหกรรมได้แพร่หลายไปยังหลายประเทศในทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 และขยายไปยังอเมริกา รัสเซีย และญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 
                ในยุคนี้เทคโนโลยีเจริญรุดหน้ามาก คือ เทคโนโลยีด้านพลังงาน (Energy Technology) มีการสร้างกังหันลมและใช้พลังงานไอน้ำสำหรับการทำงานของเตรื่องจักรกล และการค้นพบความรู้เรื่องไฟฟ้าเป็นผลให้คิดค้นสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ความรู้การถลุงแร่ทำให้เกิดโลหะวิทยาและเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ มีการสร้างโรงงานทอผ้าที่ใช้ความรู้ทางเคมีกับเรื่องสิ่งทอ ในตอนปลายของยุค วิศวกรโรงงานต่าง ๆ พัฒนาสิ่งแก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สะพาน เขื่อน ท่อ การสื่อสารและคมนาคม เช่น ก่อสร้างถนน ขุดคลอง กิจการรถไฟ การสื่อสาร ระบบการพิมพ์ การถ่ายภาพ โทรเลข โทรศัพท์ เทคโนโลยีในยุคนี้ก้าวหน้ารวดเร็วมาก ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีตามความต้องการของสังคมอุตสาหกรรมขณะนั้น

 

 

 

 

 

ยุคที่ 5. ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)

 


 ลักษณะของยุคศตวรรษที่ 20

              ยุคนี้ถือเป็นการเจริญเติบโตอย่างมากหรือยุคทองทางด้านเทคโนโลยีอย่างมากกระบวนการผลิตทางเทคโนโลยีได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 กระบวนการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเจริญเติบโตแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน

       ยุคนี้เริ่มจากการบิน การส่งจรวด ความรู้ทางอิเล้กทรอนิกส์และระเบิดปรมาณู การประดิษฐ์คิดค้นวัสดุใหม่ ๆ ซึงมีทั้งสร้างสรรค์และทำลายสังคม การพัฒนาวิทยาการการบินและเทคโนโลยีทางอวกาศก้าวหน้ามาก เกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง ทำให้มีการคิดค้นสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างไม่มีขีดจำกัด

    1. ความเข้าใจพื้นฐาน (Basic information)
    2. การให้ความรู้ด้านเทคนิค (Technical education)
    3. การประเมินผลด้านเทคโนโลยี (Assessment of technology )
    4. อนาคตของเทคโนโลยี (Outlook)

 

 

 

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในประเทศไทย

            เนื่องจากประเทศไทยมีอารยธรรมมาช้านาน และพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากมาย อาจแบ่งตามสมัยต่าง ๆ ได้ดังนี้

                 1. สมัยสุโขทัย
                 2. สมัยอยุธยา
                 3. สมัยรัตนโกสินทร์
                 4. สมัยปัจจุบัน

 สมัยสุโขทัย

          - นำเครื่องปั้นดินเผาจากเมืองจีน และโปรดสร้างโรงงานขึ้นที่เมืองสวรรคโลก (1843 : พ่อขุนรามคำแหง)

 สมัยอยุธยา

          - เกิดเทคโนโลยี (ปืนใหญ่) สมุนไพรโบราณและยาโบราณ (2199-2231 : สมเด็จพระนารายณ์มหาราช)

 สมัยรัตนโกสินทร์

          - สอนศาสนาทั้งโรมันคาทอลิก และโปแตสแตนต์ รวมทั้งคณะมิชชันนารี มีการทำแลซ่อมนาฬิกา การต่อเรือ (2367-2394 : รัชกาลที่ 3)

          - สร้างเรือกลไฟพระที่นั่งขึ้นเป้นลำแรก (2394 : รัชกาลที่ 4)

         - วางสายโทรศัพท์ (2424 : พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว )

         - เริ่มสร้างทางรถไฟสายแรกจากกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา (2433 : รัชกาลที่ 5)

        -  ตั้งการประปาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (2452 : รัชกาลที่ 5)

        -  สำรวจพบถ่านหินลิกไนต์ (2460: รัชกาลที่ 6)

        -  เริ่มใช้โทรศัพท์อัตโนมัติ (2468 : รัชกาลที่ 6)

        -  มีการพัฒนาโทรทัศน์ขึ้น (2469 : รัชกาลที่ 7)

       -   ไทยใช้รถจักรดีเซลเป็นประเทศแรกในเอเชีย (2471 : รัชกาลที่ 7)

        -  นายเลื่อน พงษ์โสภณ ประดิษฐ์รถสามล้อ (2476 : รัชกาลที่ 7)

        -  ตั้งโรงเรียนช่างชลประทาน (2481 : รัชกาลที่ 8)

 สมัยปัจจุบัน

        -  โรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ (2491 : รัชกาลที่ 9)

        -  พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (2504 : รัชกาลที่ 9)

        -  นำเข้าคอมพิวเตอร์เครื่องแรก (2491 : รัชกาลที่ 9)

        -  ตั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2515 : รัชกาลที่ 9)

        -  เริ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (2518 : รัชกาลที่ 9)

        -  ตั้งสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินจากดาวเทียม (2524 : รัชกาลที่ 9)

        -  ตั้งศูนย์ BIOTECH (2526 : รัชกาลที่ 9)

        -  ตรา พ.ร.บ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นองค์กรอิสระ (2541 : รัชกาลที่ 9)

        -  โครงการต่าง ๆ ตามพระราชดำริ และโครงการหลวงต่าง ๆ เช่น โครงการฝนหลวง เกษตรทฤษฎ๊ใหม่ โครงการไร่นาสวนผสม เป็นต้น (2491 : รัชกาลที่ 9)
ขอบคุณข้อมูล http://kattymarie.myreadyweb.com/article/topic-24589.html



ขอขอบคุณ: http://yuttipong.myreadyweb.com/article/category-84041.html 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
Rich Text Editor
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :